|
อาชีพประชากร |
|
 |
|
|
ประชาชนตำบลแสนตอ มีการประกอบอาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม รองลงมา คือ ประกอบอาชีพรับจ้าง, ค้าขาย, เลี้ยงสัตว์ เช่น วัว, กระบือ, สุกร, เป็ด, ไก่ |
|
|
|
ภูมิประเทศ |
|
 |
|
|
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของตำบลแสนตอ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลูกคลื่น ลาดชันและที่ราบเชิงเขามีแม่น้ำน่านไหลผ่าน หมู่ที่ 1,2,3 และ หมู่ที่ 6,7 เหมาะกับการทำการเกษตร |
|
|
|
ภูมิอากาศ |
|
 |
|
|
|
|
ภูมิอากาศตำบลแสนตอ เป็นอากาศร้อนชื้น แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ |
|
ฤดูร้อน |
เริ่ม เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนพฤษภาคม |
|
ฤดูฝน |
เริ่ม เดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคม |
|
ฤดูหนาว |
เริ่ม เดือนตุลาคม ถึง กุมภาพันธ์ |
|
|
|
สถาบันและองค์กรทางศาสนา |
|
 |
|
|
|
|
ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแสนตอ นับถือศาสนาพุทธ |
|
วัด จำนวน 4 แห่ง |
|
|
วัดดอยแก้ว |
|
|
วัดเกาะเรไรย์ |
|
|
วัดสิงห์ศรีสว่าง |
|
|
สำนักสงฆ์หนองหมู |
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี
และวัฒนธรรม |
|
 |
|
|
|
|
|
ประเพณี |
|
|
ตำบลแสนตอมีงานประเพณีสำคัญ ประกอบด้วย งานก่อเจดีย์ข้าวเปลือกและงานบวชนาคสามัคคี จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนเมษายน การจัดงานประเพณีในวันสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ วันเข้าพรรษา |
|
ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
|
จักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 1 |
|
|
พิธีกรรมผู้เสียชีวิต หมู่ที่ 1 |
|
|
ทำบายศรีสู่ขวัญจากใบตอง หมู่ที่ 2 |
|
|
ทำขวัญงานมงคล หมู่ที่ 4 |
|
|
จักสานไม้ไผ่ หมู่ที่ 5 |
|
|
หมอสมุนไพรพื้นบ้าน หมู่ที่ 6 , หมู่ที่ 7 |
|
|
หมอพื้นบ้าน |
|
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก |
|
|
เห็ดนางฟ้า กลุ่มเพาะเห็ด |
|
|
พรมเช็คเท้า กลุ่มทำพรมเช็ดเท้า |
|
|
ตะกร้า , หมวกและกระเป๋าพลาสติก กลุ่มแม่บ้านถักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก |
|
|
กระเป๋าผ้า กลุ่มสตรีเย็บกระเป๋าผ้าด้นมือ |
|
|
|
การศึกษาในตำบล |
|
 |
|
|
|
|
|
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง |
|
|
โรงเรียนวัดดอยแก้ว |
|
|
โรงเรียนสิงห์ศรีสว่าง |
|
โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง |
|
|
โรงเรียนแสนตอวิทยา |
|
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.แสนตอ |
|
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) |
|
ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน |
|
ศูนย์เรียนรู้สู่ชุมชนตำบลแสนตอ จำนวน 1 ศูนย์ |
|
|
|
การคมนาคม |
|
 |
|
|
|
|
การคมนาคมของตำบลแสนตอ มีการคมนาคมทางบกเป็นหลัก โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1106 ผ่านตำบลแสนตอในหมู่ที่ 6, 7 และถนน รพช. อต 11008 ผ่านหมู่ที่ 1-5 เป็นถนนสายหลักในการคมนาคมติดต่อ |
|
การคมนาคมติดต่อกับอำเภอใกล้เคียง มีถนนสายหลักดังนี้ ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 1106 และถนน รพช. อต 11008 เป็นถนนสายหลักในการคมนาคมติดต่อกับอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ |
|
การคมนาคมติดต่อภายในตำบล และตำบลใกล้เคียงใช้เส้นทาง รพช.นอกจากนั้น ใช้เส้นทางคมนาคมอื่นที่เชื่อมระหว่างตำบล หมู่บ้าน ซึ่งสามารถเชื่อมติดกับตำบลบ้านด่าน, ตำบลหาดงิ้ว, และตำบลถ้ำฉลอง |
|
|
|
|
|